วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การดูว่าร่างทรงจริงหริอปลอม

ข้อสังเกตุ คนมีสัมภเวสี

คนที่มีองค์เทพหรือผีแฝงอยู่นั้นสังเกตุได้ด้วยตัวเองคือ
  1. มึนศรีษะข้างเดียวเป็นประจำ ทางการแพทย์ว่าเป็น “ ไมเกรน ” 
  2. หนักต้นคอ บางครั้งหนักบ่าสองข้างเหมือนมีใครมาขี่คอ
  3. แน่นหน้าอกเป็นบางครั้ง เหมือนคนหายใจไม่อิ่ม หรือไม่ทั่วท้อง
  4. มีลางสังหรณ์แม่นยำ บางทีเรียกสัมผัสที่หก หรือ “ ซิกเซ้นท์ ”
  5. ชอบฝันหรือตีเป็นตัวเลข เสี่ยงโชคได้ใกล้เคียง ซื้อทีไรก็เฉี่ยวไปเฉี่ยวมาเป็นประจำ แต่ถ้าไม่ซื้อเที่ยวบอกใคร เขาก็จะถูก 
  6. บางครั้งหูจะได้ยินเสียงเรียกเบาๆ เหมือนเสียงกระซิบหรือเสียงดังก้องในหู
  7. ไปตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือ มีอะไรที่ลี้ลับ จะรับรู้โดยการสัมผัส ขนลุกชันเย็นซ่าไปทั้งตัว
  8. บางครั้งสวดมนต์อยู่ดี ๆ ก็เปลี่ยนเป็นภาษาอื่นรัวเร็วขึ้นมา
  9. หากนั่งสมาธิจะได้หูทิพย์ ตาทิพย์ เร็วกว่าคนทั่วไป
 ดังนั้นอาการบางอย่างหาหมอก็แล้ว กินยาก็แล้ว มันไม่หาย ก็ให้ สวดมนต์นั่งสมาธิตามที่ว่าแล้วแผ่เมตตาบ่อย ๆ ทุกอย่างมันจะหายไปเอง เพราะบารมีที่ทำนี่แหละ

อาการที่เกิดจากสัมภเวสีคือ
  1. ปวดศรีษะเป็นประจำ บางครั้งปวดมากจนทนไม่ไหว หมอว่าเป็น ความ  ดันบ้างก็แล้วแต่ ก็ควรตรวจเช็คแก้ไข
  2. ปวดไหล่เป็นประจำ หมอว่าเป็นเส้นเอ็นอักเสบ กินยาทายาก็แล้ว มันไม่หาย ตึงไปหมด ถือว่าผิดปกติ
  3.  มือเท้าชาเป็นซีก จากไหล่ หรือตะโพก หัวเข่าก็ตาม
  4.  แน่นหน้าอกมากผิดปกติ
  5.  ปวดบริเวณกระเบนเหน็บ บางที่การแพทย์ระบุว่า หมอนรองกระดูก ทับเส้น เว้นแต่กรณีการเกิดอุบัติเหตุ ลื่นหกล้มจนกระแทกพื้นอย่างแรง นั่นก็จะต้องพิจารณารายละเอียดเป็นกรณีไป
 อาการเหล่านี้อาจไม่เกี่ยวกับองค์เทพ แต่เป็นการแทรกซ้อนจากวิญญาณเร่ร่อนหรือสัมภเวสีที่ไม่มีที่อยู่นั่นเอง หากรักษาแล้วแก้ไขแล้วไม่ดีขึ้น ก็ลองติดต่อขอรับปรึกษากับ ท่านอาจารย์ที่มีความรู้และน่าเชื่อถือจะพอหาทางแก้ไขให้ได้
ก็เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้ใช้วิจารณญาณในการแก้ไขตนเองให้ถูกต้อง ไม่ใช่ใช้เงินแก้ไข เพราะวิบากกรรมเป็นของมนุษย์ที่กระทำกันมา ครูบาอาจารย์องค์เทพก็ตาม ก็ไม่อาจฝืนกฏแห่งกรรมได้ แต่อาจชี้ทางแก้ไขได้ เพราะการเจ็บป่วยหรือปัญหาต่าง ๆ ที่รุมเร้ามนุษย์นั้น มีกรรมเป็นต้นเหตุที่สำคัญ การแก้ไขเรามาแก้กันที่ปลายเหตุมันก็ไม่จบ ต้องรู้จักต้นเหตุ เพราะเหตุเกิดที่ไหนก็ดับที่นั่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น